332 จำนวนผู้เข้าชม |
บทความนี้ แอดมินแปลมาจากประเทศญี่ปุ่นนะคะ เป็นบทความที่เขียนโดย คุณอาซาโกะ โคยามะ
เจ้าหน้าที่ Japan Home Hospice Association และเป็นผู้ประเมินการรับรองบุคคลที่สามสำหรับ Tokyo Welfare Services อีกทั้งยังเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง "Door to the World: The Work of Long-term Care" (Kodansha) ซึ่งได้รับเลือกให้เป็น "ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมและสวัสดิภาพเด็ก” ที่แนะนำโดยสภาประกันสังคมของกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ ของประเทศญี่ปุ่น ใน 2017 ต่อไปนี้คือ สี่ประเด็นที่เราควรตรวจสอบเมื่อเลือกเตียงพยาบาลไฟฟ้าสำหรับผู้สูงวัย และผู้ป่วยสูงอายุ
1. เลือกเตียงสำหรับผู้สูงวัยตามจำนวนมอเตอร์
เตียงผู้สูงอายุมีลักษณะเฉพาะด้วยฟังก์ชันที่ควบคุมด้วยระบบไฟฟ้า ฟังก์ชันที่ติดตั้งจะเปลี่ยนไปตามจำนวนมอเตอร์ ดังนั้นโปรดเลือกมอเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของผู้สูงวัย กล่าวคือ
- เตียงมีมอเตอร์ 1 ตัว ใช้ช่วยในการลุกออกจากเตียง เหมาะสำหรับผู้สูงวัยที่สามารถ ขยับร่างกายได้ค่อนข้างดีหรืออาจมี "ฟังก์ชันพนักพิงหลัง" หรือมี "ฟังก์ชันปรับความสูง" ที่ปรับความสูงเพื่อให้ลุกขึ้นได้ง่ายขึ้น ในกรณีของ "ฟังก์ชันพนักพิงหลัง" ที่ทำให้ลุกได้ง่ายขึ้น อาจมีบางส่วนที่สามารถ ยกมุมเข่าร่วมด้วย เพื่อให้ร่างกายไม่ไถลขณะที่ลุกขึ้น ข้อเสียสำหรับเตียงที่มีมอเตอร์ตัวเดียวจะไม่สามารถทำการปรับแบบละเอียดได้ แต่ข้อดีคือ เป็นกลไกที่ใช้งานง่ายแม้ผู้ใช้เพียงคนเดียว อีกทั้งราคายังตั้งต่ำกว่าแบบอื่น ๆ
- เตียงมอเตอร์ 2 ตัวที่รองรับการขึ้นลง ประกอบไปด้วย "ฟังก์ชันยกหลัง" และ "ฟังก์ชันปรับความสูง" ที่ปรับความสูงให้เหมาะกับกับวางเท้าบนพื้นของผู้สูงวัยบนพื้น เพื่อทำให้ลุกขึ้นได้ง่ายยิ่งขึ้น
- เตียงมอเตอร์ 3 ตัวที่รองรับการพลิกตัวและลุกขึ้น เป็นเตียงที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถลุกขึ้นเองได้อย่างง่ายดาย หรือเป็นผู้ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือบนเตียงบ่อยครั้ง เตียงประกอบไปด้วยฟังก์ชันที่ต้องใช้งานทั้งหมด เช่น "ยกหลัง" "ปรับความสูง" และ "ยกเข่า" โดยสามารถกำหนดละเอียดสำหรับแต่ละส่วนได้
- ทั้งนี้ ฟังก์ชันการปรับ “ยกหัวเข่า” สามารถใช้ร่วมกับ "การยกหลัง" ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับเตียงที่มีมอเตอร์ 3 ตัว ที่สามารถปรับขยับได้อย่างอิสระต่อกัน "การยกเข่า" ในขณะนอนหลับจะป้องกันอาการขาบวมได้
- หากผู้สูงอายุต้องการการดูแลเอาใจใส่สูง หรือมีความลำบากในการพลิกกลับตัวด้วยตนเอง ควรเลือกใช้เตียงที่มีมอเตอร์ 2 ตัวขึ้นไป และมีฟังก์ชันยกเข่า และสามารถปรับได้อย่างอิสระต่อกัน จะช่วยให้ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวบนเตียง ได้สะดวกมากขึ้น
2. ควรปรับความกว้างและความยาว ตามความสูงและสถานการณ์การพยาบาลของผู้สูงวัย
ควรเลือกความกว้างและความยาวของเตียงที่เหมาะกับผู้สูงวัยและผู้ดูแล ความยาวของเตียง พิจารณาจากความสูงของผู้สูงวัย โดยทั่วไปมีความยาวสามประเภท คือความยาวของเตียงสำหรับผู้สูงวัยที่มีความสูงน้อยกว่า150 ซม. ความสูง 150 – 175 ซม. และถ้าความสูง 175 เป็นพื้นฐานในการเลือกขนาดของเตียงที่เหมาะสม
ยิ่งเตียงกว้างเท่าไรก็ยิ่งสบายและพลิกตัวได้ง่ายขึ้นเท่านั้น แต่ผู้ดูแลอาจเอื้อมมือไปสัมผัสหรือดูแลได้ยากขึ้นเช่นกัน เราแนะนำให้เตียงควรมีขนาดกว้าง 91 ซม. จะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถดูแลผู้สูงวัยได้ง่ายกว่าเตียงขนาด 100 ซม. ทั้งนี้เราจำเป็นต้องพิจารณาขนาดของห้องพักที่สอดคล้องและเหมาะสมกับการเคลื่อนย้ายเตียงอีกด้วย
1. อุปกรณ์เสริมบางอย่างมาเป็นชุดของเตียง
นอกจากนี้ เรายังจำเป็นต้องตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่จำเป็นรวมอยู่ในชุดของเตียงด้วยหรือไม่ โดยเฉพาะแบบที่มีที่นอนที่มาพร้อมกับเตียง จะทำให้เราสามารถเริ่มใช้งานได้ทันทีหลังจากซื้อ นอกจากนี้ ให้เตียงที่มีราวกั้นเตียงและราวข้างเตียงรวมอยู่ด้วย จะป้องกันไม่ให้ผู้สูงวัยล้มหรือพลัดหล่นตกจากเตียง
2. แนะนำการเลือกใช้เตียงพับ
หากเราต้องทำความสะอาดห้องบ่อยหรือเคลื่อนย้ายเตียงบ่อย เตียงไฟฟ้ามักมีขนาดใหญ่กว่าเตียงทั่วไปและใช้พื้นที่สูงทำให้การทำความสะอาดทำได้ยาก ดังนั้นเราสามารถพิจารณาเตียงแบบพับได้ ซึ่งใช้พื้นที่ได้อย่างกะทัดรัดและเคลื่อนย้ายสะดวก อย่างไรก็ตามแบบพับได้อาจมีฟังก์ชันอื่นๆ ที่สามารถอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ดูแล เช่น แบบมีล้อและแบบฟูกที่ตากแห้งได้ แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ ส่วนรองรับช่วงเอวมักไม่ค่อยแข็งแรงเท่าเตียงแบบปกตินั่นเอง
ผู้แปลบทความ แอดมินโอ๋
ที่มา https://bit.ly/3uLH3Wp